Use APKPure App
Get HiWee old version APK for Android
Applications pour pharmaciens et patients
ปัจจุบันผู้ป่วย 36.7 ล้านคนทั่วโลกติดเชื้อเอชไอวีและขณะนี้ยังมีชีวิตอยู่ โดยที่ประมาณ 17 ล้านคน กำลังกินยาต้านเอชไอวี มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีที่ติดเชื้อเอชไอวีและยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 1.8 ล้านคน ณ สิ้นปี พ.ศ. 2558 ยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่และเสียชีวิตประมาณ 2.1 ล้านและ 1.1 ล้านคนตามลำดับ สำหรับประเทศไทยคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและยังมีชีวิตด้วยแบบจำลองการระบาด (AIDS epidemic model and Spectrum) ณ พ.ศ. 2559 เท่ากับ 423,778 คน หรือคิดเป็นความชุกประมาณ ร้อยละ 1.1 ของประชากรไทย อายุระหว่าง 15-49 ปี จากจำนวนนี้เป็นผู้หญิง 179,590 คน โดยเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมด 6,304 คน จากจำนวนนี้เป็นผู้หญิง 1,821 คน และเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 78 คน จากจำนวนทั้งหมดข้างต้น 3,180 คนติดเชื้อในกลุ่มประชากรชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ยังมีชีวิตและอยู่ร่วมกับเชื้อประมาณ 3,221 คน ณ สิ้นปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติด เชื้อเอชไอวีที่กำลังกินยาต้านเอชไอวีทั้งหมด 284,434 คน คิดเป็นร้อยละ 65 ของผู้ติดเชื้อและยังมีชีวิตทั้งหมด ผลจากการเข้าถึงและรับยาต้านเอชไอวีที่เพิ่มขึ้น
องค์การสหประชาชาติกำหนดตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDG) โดยการแก้ไขปัญหาเอดส์ถูกกำหนดไว้ใน SDG ที่ 3 สร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริม สุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย เป้าหมายที่ 3.3 ยุติการระบาดเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย ตับอักเสบ และโรคติดเชื้ออื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2573 การประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2557 เห็นชอบเป้าหมายที่จะยุติปัญหาเอดส์ ในปี พ.ศ. 2573 คือ ไม่มีเด็กติดเชื้อเอชไอวีเมื่อแรกเกิด การติดเชื้อรายใหม่น้อยกว่าปีละ 1,000 คน ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อทุกคนเข้าถึงบริการยาต้านเอชไอวีและไม่มีการตีตรารังเกียจและเลือกปฏิบัติต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ และประชากรหลักที่มีภาวะเปราะบางต่อการติดเชื้อ โดยที่เป้าหมายดังกล่าวจะเป็นจริงได้นั้น ต้องมีการทำงานที่บูรณาการด้านป้องกันและรักษาอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันตั้งแต่การป้องกันการติดเชื้อ การออกเชิงรุกเข้าหาประชากรเป้าหมาย การให้คำปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อ การส่งต่อเพื่อเข้าสู่บริการ ดูแลรักษาด้วยยาต้านเอชไอวี การติดตามการรักษาและกินยาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในรูปแบบการมีส่วนร่วมทั้งจากผู้ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ภาคประชาสังคม และเครือข่ายผู้ติดเชื้อ
นอกเหนือจากแนวทางข้างต้นแล้ว ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เล็งเห็นว่าการสร้างองค์ความรู้และสื่อที่ผู้ติดเชื้อ รวมทั้งผู้ที่ดูแลผู้ติดเชื้อสามารถเข้าถึงได้ง่ายจากโทรศัพท์มือถือ ที่เรียกว่า mobile application เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรักษา เพิ่มความรู้เรื่องโรค เรื่องยา การติดเชื้อฉวยโอกาส การปฏิบัติตนเมื่อติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ รวมทั้งการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
Last updated on Nov 13, 2019
Minor bug fixes and improvements. Install or update to the newest version to check it out!
Nécessite Android
5.0 and up
Catégories
Signaler
HiWee
1.4 by Pandas Coding
Nov 13, 2019